ในปัจจุบันทุกอย่างรอบตัวเราและเครื่องมือการศึกษา ต่างเต็มไปด้วยเทคโนโลยี AI ผู้ปกครองหลายท่านก็เริ่มกังวลกับการที่เด็กๆ ใช้ ChatGPT ช่วยทำการบ้านในขณะที่เด็กๆมองว่า เครื่องมือนี้ช่วยในการหาคำตอบ คำอธิบายการบ้านได้อย่างไม่เสียเวลา บางคนยังเพิ่มข้อดีว่า ChatGPT ช่วยเพิ่มความเข้าใจเนื้อหาให้ลึกซึ้งได้ด้วย นั้น
แม้ว่าการใช้ประโยชน์จาก AI จะมีข้อดี แต่ก็มีข้อกังวลถึงความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตัวเองของเด็ก นอกจากนี้ ยังมีประเด็นการพึ่งพาเทคโนโลยี AI มากเกินไป ที่ทำให้ผู้เรียนขาดการพัฒนาตน จึงไม่แปลกที่จะได้ยินข้อห่วงใยของคุณพ่อคุณแม่ว่า "ลูกใช้ ChatGPT ช่วยทำการบ้าน ควรทำอย่างไรดี"
AimHigherAcademic เห็นว่า เป็นที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในทุกมิติของการใช้ชีวิตประจำวัน จึงได้สำรวจข้อมูลดังกล่าวเพื่อผู้ปกครองจะได้สร้างความเข้าใจวิธีการส่งเสริม การเรียนรู้ด้วยตัวเองของเด็ก เพื่อรับมือกับเทคโนโลยี AI ได้อย่างเหมาะสม
AI ถูกนำมาใช้ในการเรียนการศึกษามากขึ้น: ปรากฏการณ์ที่ผู้ปกครองต้องยอมรับ
บทความในหนังสือพิมพ์ New York Times (2023) ระบุว่า AI เช่น ChatGPT เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนแล้ว ด้วยความสามารถในการส่งคำตอบให้กับผู้ถามทันทีทันใด ส่วนนี้ อาจเป็นข้อดีเพราะช่วยรักษาความกระตือรือร้นในเนื้อหาที่เรียนรู้ ผู้ให้การสนับสนุน AI บางรายถึงกับมองว่า ผู้ใช้สามารถตั้งคำถามที่มีเนื้อหาลึกลงกับ AI ซึ่งมีส่วนช่วยให้พวกเขาเข้าถึงความรู้ที่ซับซ้อนได้อย่าง interactive
อย่างไรก็ดี เป็นที่ยอมรับว่า การส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้วยตัวเอง (ซึ่งเป็นทักษะที่อาจถดถอยจากการใช้ AI มากไป) รวมทั้งยิ่งเสี่ยงต่อการขโมยผลงานทางวิชาการ (plagiarism) ยังคงมีความสำคัญอย่างยิ่ง นอกจากนี้ ยังพบกรณีที่ ChatGPT นำเสนอข้อมูลที่ขาดความถูกต้อง และเที่ยงตรง นับได้ว่า การเข้าถึงเทคโนโลยีดังกล่าวยังคงเป็นดาบสองคมสำหรับนักเรียน (Al Afnan et al., 2023 ; Atlas, 2023)
การเรียนรู้ที่ไม่พึ่งพาเครื่องมือช่วยเหลือยังคงสำคัญมาก: แม้ว่าจะมีผู้สนับสนุน ChatGPT เพื่อการศึกษา เป็นที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า เทคโนโลยีดังกล่าวสามารถส่งผลกระทบทางลบ ด้วยการลดทักษะที่สำคัญใน การเรียน อันได้แก่ การใช้ความจำ การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical thinking) และความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ดังนั้นหากนักเรียนไม่ได้พัฒนาทักษะดังกล่าว ก็เสี่ยงกับการประสบความล้มเหลวเมื่อต้องรับมือกับปัญหาที่ซับซ้อนเมื่อออกมาทำงานได้
ข้อเสียของการพึ่งพา ChatGPT มากเกินไปมีหลายประการ อาทิ การพึ่งพา AI เพียงอย่างเดียว แปลว่านักเรียนไม่ได้พยายามสร้างความเข้าในกับเนื้อหาการเรียน และสนใจเพียงการลอกแนวคำตอบจาก AI ซึ่งอาจนำไปสู่การขาดความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ เร่งเพียงเพื่อหาคำตอบได้รวดเร็วแต่ ขาดกระบวนการคิดและวิเคราะห์ที่นำมาซึ่งคำตอบที่ถูกต้อง ส่งผลด้อยต่อการพัฒนาทักษะการแก้ไขปัญหา จำกัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์เชิงลึก อันเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้เรียนควรมี เพื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในเหตุการณ์จริงได้
ข้อจำกัดอีกประการของ ChatGPT คือปัจจุบัน AI ให้คำตอบเฉพาะตามข้อมูลที่มีอยู่ ที่ AI สำรวจได้ และขึ้นอยู่กับวิธีการตั้งคำถามของผู้ถาม ทำให้เกิดข้อเสียในการจำกัดมุมมองและข้อมูลที่ AI นำเสนออาจตอบโจทย์ไม่ได้แม่นยำ ทั้งนี้ การลดการฝึกฝนทักษะการเรียนรู้ด้วยตังเอง จะทำให้เด็กๆ ไม่มีความมั่นใจในความสามารถทางการเรียนของตนเองในกรณีที่ไม่สามารถเข้าถึง AI ได้ (Choi et al.,2023 ; Halaweh, 2023 ; Kasneci et al.,2023)
สร้างสมดุลที่เหมาะสม ในการใช้ประโยชน์จาก AI สิ่งสำคัญที่สุดที่ผู้ปกครองและผู้เรียนพึงตระหนักคือ AI ควรเป็นตัวช่วยในการเรียนการสอน เป็นเครื่องมือของครูผู้สอน และไม่สามารถเข้ามาทำหน้าที่แทนครูผู้สอนได้ ครูจะสามารถพิจารณาการเข้าถึง AI ที่เหมาะสม พร้อมกับให้แนวทางแบบฝึกหัดที่ยังคงส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ที่จำเป็น ตัวอย่างที่ดีคือโปรแกรม Khanmigo Khan Academy ที่ผนวก AI เพื่อประโยชน์ของนักเรียน
ให้ AI เป็นผู้ช่วยการเรียนรู้แบบแอคทีฟ: สามารถเป็นเครื่องมือให้ครูผู้สอนใช้เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการสร้าง คำถามเพื่อการคิดวิเคราะห์ พร้อมช่วยดึงข้อมูลที่หลากหลาย และใช้ในกิจกรรมกลุ่ม ตัวอย่างเช่น MIT Lab ได้เปิดตัวโปรแกรมการอ่านสำหรับเด็กเล็ก โดยใช้ AI และนำมาประกอบการพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพกับผู้อื่น ดังปรากฏใน TED Talk video เกี่ยวกับ 5 วิธีเพื่อเสริมการคิดเชิงวิพากษ์ (คลิกที่นี่)
ประยุกต์ใช้ AI เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้
ผู้สอนสามารถกระตุ้นความอยากรู้อยากเรียนของเด็กๆด้วยการมอบหมายโปรเจคให้นักเรียนสำรวจหัวข้ออย่างลึกซึ้ง ทำให้เด็กๆ ต้องทำการค้นคว้าด้วยตัวเองและใช้ ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ ตัวอย่าง ดังปรากฎในวิดีโอจาก Edutopia (2015) สะท้อนการประยุกต์ใช้ AI ซึ่งครูทำบทบาทกระตุ้นนักเรียนให้สะท้อนความคิดกับคำตอบที่ AI สร้างขึ้น และร่วมวิเคราะห์ความถูกต้องของคำตอบ
บทสรุป
เครื่องมือ AI เช่น ChatGPT ควรถูกนำมาใช้เพื่อความสร้างสรรค์ โดยต้องมีการสร้างสมดุลที่เหมาะสมระหว่างการช่วยเหลือจาก AI กับการฝึกทักษะพื้นฐานในการเรียนที่สำคัญ เพื่อเตรียมให้คน generation ถัดไปเติบโตในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างทันท่วงที
แหล่งข้อมูล
Agoos, S. (2016). 5 tips to improve your critical thinking - Samantha Agoos. TED. Available at: https://ed.ted.com/lessons/5-tips-to-improve-your-critical-thinking-samantha-agoos.
AlAfnan, M. A., Dishari, S., Jovic, M., & Lomidze, K. (2023). Chatgpt as an educational tool: Opportunities, challenges, and recommendations for communication, business writing, and composition courses. Journal of Artificial Intelligence and Technology, 3(2), 60-68.
Atlas, S. (2023). ChatGPT for higher education and professional development: A guide to conversational AI.
Choi, J. H., Hickman, K. E., Monahan, A., & Schwarcz, D. (2023). ChatGPT goes to law school. Available at SSRN.
Edutopia (2015). Inquiry-Based Learning: From Teacher-Guided to Student-Driven. YouTube. Available at: https://www.youtube.com/watch?v=mAYh4nWUkU0.
Halaweh, M. (2023). ChatGPT in education: Strategies for responsible implementation.
Kasneci, E., Seßler, K., Küchemann, S., Bannert, M., Dementieva, D., Fischer, F., ... & Kasneci, G. (2023). ChatGPT for good? On opportunities and challenges of large language models for education. Learning and individual differences, 103, 102274.
Khan, S. (2023). Sal Khan: How AI could save (not destroy) education. [online] www.ted.com. Available at: https://www.ted.com/talks/sal_khan_how_ai_could_save_not_destroy_education/transcript [Accessed 15 Jul. 2023].
Morris R. (2019). Learning With Social Robots. [online] Available at: https://learning-with-social-robots.media.mit.edu/ [Accessed 24 Aug. 2023].
Roose, K. (2023). Don’t Ban ChatGPT in Schools. Teach With It. The New York Times. [online] 12 Jan. Available at: https://www.nytimes.com/2023/01/12/technology/chatgpt-schools-teachers.html.
Comments