top of page

ควรจะให้ลูกเร่ิมเรียนภาษาที่สองและที่สามตอนไหนดี ?

  • Teacher Thany
  • Aug 21, 2023
  • 2 min read

Updated: Aug 22, 2023

**

ในฐานะผู้ปกครอง ผู้หมั่นเพียรหาโอกาสที่ดีที่สุดในด้านการศึกษาของลูก คำถามสำคัญที่หลายท่านสงสัยคือ เราควรจะให้ลูกเร่ิมเรียนภาษาที่สองและที่สามตอนอายุเท่าไหร่ ตอนไหนดี?


AimHigherAcademic มีคำตอบให้ท่าน เหล่านี้อยู่ที่ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาของบุตรหลานของท่านและทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาสำหรับเด็ก มาพบกับคำตอบเลยค่ะ


การเรียนรู้ภาษาในวัยเยาว์

เป็นที่ยอมรับกันดีว่า เด็กมีความสามารถในการซึมซับความรู้ใหม่ๆ ได้ง่ายในช่วงวัยเยาว์ตอนเริ่มต้นของชีวิต ตั้งแต่เกิดจนถึงอายุประมาณเจ็ดปี นักวิชาการมองว่า สมองของเด็กในช่วงนี้เติบโตอย่างเต็มที่ทั้งด้านการรับข้อมูล การเรียนภาษา จึงเป็นอีกช่วงเวลาที่เหมาะสมให้เด็กๆ คุ้นเคยกับการออกเสียงที่แตกต่างออกไป และคำศัพท์ โดยจะค่อยข้างทำได้เร็วและเป็นธรรมชาติ (แม้ว่าจะลืมได้ง่ายเช่นกัน ก็ตาม)


ทฤษฎี Critical Period Hypothesis กับทฤษฎีใหม่ๆ ในปัจจุบัน


ทฤษฎีดังกล่าว (ซึ่งต่อมามีผู้โต้เถียง ด้วยหลายเหตุผลที่น่าสนใจ) ระบุว่าการเรียนรู้ภาษาจะต้องใช้กระบวนการที่ต้องสร้างความพยายามและเวลามากขึ้น หากผู้เรียนอายุมากกว่า 7 ปี


ทั้งนี้ นักวิจัยรุ่นหลังได้ออกมาโต้เถียงว่า การเรียนรู้ภาษาในวัยเด็กหรือวัยใดๆ มีข้อดีและข้อเสียทีแตกต่างกัน ดังนี้

  • แม้ว่าเด็กๆ จะเรียนรู้ภาษาอาจได้เร็วกว่าผู้ใหญ่ (ในด้านการออกเสียงและความจำ) ผู้ใหญ่มีข้อได้เปรียบด้านการเรียนรู้อันสั่งสมมาจากประสบการณ์ในชีวิตมากกว่า ทำให้ผู้ใหญ่ก็มีข้อได้เปรียบกว่าเด็ก

  • การศึกษาเหล่านี้ เน้นคอนเซปของคำว่า adaptability skill และ brain plasticity (สมองของเราปรับตัวเพื่อเรียนรู้และยังเติบโตอยู่เสมอ แม้จะอยู่ในวัยผู้ใหญ่) อันมีบทบาทสำคัญในกระบวนการเรียนรู้ภาษา การทดลองสมององผู้ใหญ่พบว่า เส้นประสาทในสมองสามารถเติบโตหรือเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ภาษาใหม่เช่นกัน ดังนั้นจึงนับได้ว่า ผู้ใหญ่และเด็กต่างก็มีข้อดีในการเริ่มเรียนภาษาต่างประเทศด้วยจุดเด่นที่แตกต่างกัน

  • ข้อดีของการเรียนภาษาต่างประเทศของผู้ใหญ่คือ ความสามารถในการเข้าใจโครงสร้าง ไวยากรณ์ และโครงสร้างภาษาที่ซับซ้อน ได้ดีกว่าเด็ก เพราะประสบการณ์ชีวิตของผู้ใหญ่มี ส่วนช่วยให้เข้าใจบริบททางวัฒนธรรมและการแสดงออกทางภาษา ได้ดีกว่าเด็กวัยเยาว์


ควรจะให้ลูกเร่ิมเรียนภาษาที่สองและที่สามตอนไหนดี

วัยที่เหมาะสมในการเริ่ม: ปัจจัยประกอบการพิจารณา


วัยที่เหมาะสมในการเริ่มศึกษาภาษาที่สองหรือแม้แต่ภาษาที่สามสามารถนั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ทั้งนี้ ปัจจัยที่ควรพิจารณาเมื่อตัดสินใจเกี่ยวกับอายุที่ให้เด็กเริ่มเรียนภาษาใหม่ มีดังนี้:



1. การสะสมประสบการณ์สัมผัสวัฒนธรรมอื่นๆ

หากครอบครัวของคุณมีลักษณะแบบหลากหลายหรือคุณวางแผนที่จะอาศัยในสภาพแวดล้อมที่มีหลายภาษา การเริ่มศึกษาภาษาตั้งแต่เร็วช่วงชีวิตช่วยให้ลูกของคุณปรับตัวและสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

2. ความพร้อมทางอารมณ์

ความพร้อมทางอารมณ์ของเด็ก อาทิ ความอดทน ความมีวินัย ส่งผลต่อความเป็นไปได้ในการเรียนรู้ภาษาใหม่ให้ประสบผลสำเร็จ ทั้งนี้ ควรเป็นประสบการณ์ที่เสริมสร้างเชื่อมั่นในตัวเองให้แก่พวกเขา พร้อมทั้งความเพลิดเพลิน และการรักภาษาใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ควรหลีกเลี่ยงการสร้างความกดดัน (อาทิ ควรท่องศัพท์ให้ได้ทั้งหมด)

3. ความสนใจเฉพาะตัว

เด็กบางคนแสดงความสนใจภาษาต่างประเทศอย่างรวดเร็วตั้งแต่วัยเยาว์ หากลูกของคุณมีลักษณะดังกล่าว เป็นไปได้ว่า นี่คือสัญญาณความพร้อมในการเร่ิมเรียนรู้ภาษาต่างประเทศภาษาใหม่

4. ช่องทางเข้าถึงสื่อเรียนรู้

การเข้าถึงเนื้อหาเช่นหนังสือภาษาคู่ แอปพลิเคชันการศึกษา และคลาสเรียนภาษาสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างมีนัยสำคัญ


ประโยชน์จากการเรียนภาษาต่างประเทศ และพูดได้หลายภาษา


การเริ่มต้นเรียนรู้ภาษาในช่วงเวลาที่เหมาะสมให้ประโยชน์มากมาย ดังนี้:


1. ข้อได้เปรียบทางกระบวนการทางความคิด

เด็กที่รู้จักหลายภาษามักจะมีความสามารถในการแก้ปัญหาที่เพิ่มขึ้น ทักษะในการจำความสามารถดีขึ้น และความสามารถในการทำงานพร้อมกันที่ดีขึ้น ดังที่วิดีโอของ TED Talk ได้เคยระบุไว้ถึงข้อดีของการเป็นเด็กสองภาษา


2. ความตระหนักถึงวัฒนธรรมอื่นๆ

การเรียนรู้ภาษาหลายภาษาเปิดประตูให้เข้าใจวัฒนธรรมและมุมมองที่หลากหลาย ทำให้เราเป็นคนมีใจเปิดกว้าง


3. ช่วยสนับสนุนการใช้ทักษะในการเรียน

การเรียนรู้หลายภาษาส่งเสริมการฝึกฝนทักษะด้านการเรียน งานวิจัยของ Bialystok et al., (2005) ระบุว่า เด็กๆ สองภาษาส่วนใหญ่มีพัฒนาการด้านการเรียนรู้ที่ได้เปรียบกว่าเด็กหนึ่งภาษา ด้วยกระบวนการความคิดที่ถูกพัฒนา เนื่องจากการใช้ทักษะดังกล่าวบ่อยครั้งกว่า


4. โอกาสในอนาคต:

เป็นที่ทราบกันดีว่า ในโลกที่เชื่อมโยงกันอย่างมากขึ้น การรู้จักหลายภาษาสามารถให้ประโยชน์ที่แตกต่างกันในโอกาสการงาน


5. ทักษะที่ติดตัวไปตลอดชีวิต

การเรียนรู้ภาษาปลูกฝังทักษะการเรียนรู้ และทักษะด้านภาษาให้แก่เด็กและผู้สนใจทั่วไป


บทสรุป


การตัดสินใจจะให้ลูกเร่ิมเรียนภาษาที่สองและที่สามตอนอายุเท่าไหร่ ตอนไหน ควรพิจารณาปัจจัยประกอบรายบุคคลของผู้เรียน เพราะการเรียนรู้ภาษาเป็นการเดินทางที่ไม่มีเวลาจำกัด ทุกคนสามารถเริ่มได้เมื่อมีความพร้อมและความตั้งใจ


Teacher Thany Founder, AimHigher Academic Tutoring


แหล่งอ้างอิง


Lenneberg, E. H. (1967). Biological Foundations of Language. Wiley.

Johnson, J. S., & Newport, E. L. (1989). Critical period effects in second language learning: The influence of maturational state on the acquisition of English as a second language. Cognitive Psychology, 21(1), 60-99.

Birdsong, D., & Molis, M. (2001). On the evidence for maturational constraints in second-language acquisition. Journal of Memory and Language, 44(2), 235-249.


Hakuta, K., Bialystok, E., & Wiley, E. (2003). Critical evidence: A test of the critical period hypothesis for second-language acquisition. Psychological Science, 14(1), 31-38.


Abrahamsson, N., & Hyltenstam, K. (2008). The robustness of aptitude effects in near-native second language acquisition. Studies in Second Language Acquisition, 30(04), 481-509.


DeKeyser, R. M. (2000). The robustness of critical period effects in second language acquisition. Studies in Second Language Acquisition, 22(04), 499-533.


Bialystok E. et al., (2001). Bilingualism, Biliteracy, and Learning to Read: Interactions Among Languages and Writing SystemsAuthors. Child Development. 72 ( 1) , 1-18.


Comments


Post: Blog2_Post
bottom of page